10 กันยายน 2553

สายไฟ และสายดิน

ที่ต้องแยกออกมาเพื่อไม่ให้บทความที่แล้วสับสน
สายไฟ
1.ส่วนมากใช้สายไฟแกนคู่แบบ VAF เบอร์ 2.5 / 4 /6 แบบสีขาว


2.ควรให้ช่างไฟต่อสายสีดำ เป็นขั้ว L   /  สีเทาอ่อน เป็นขั้ว N  ตรวจดูได้โดยใช้ไขควงตรวจไฟ
3.สายไฟต้องทนกระแสได้มากกว่า เบรคเกอร์ที่ควบคุม มากกว่า โหลดที่ต่อ

   ความทนกระแสไฟฟ้า : สายไฟที่ใช้  > เบรคเกอร์หรือเซอร์กิจเบรคเกอร์ > โหลดที่ต่อ (จำนวน A รวมทั้งหมดของอุปกรณ์)

                            สายเบอร์ 2.5  ทนกระแสไฟฟ้าได้  20A
                            สายเบอร์ 4     ทนกระแสไฟฟ้าได้   27A
                            สายเบอร์ 6     ทนกระแสไฟฟ้าได้ 35A
                            สายเบอร์ 10 ทนกระแสไฟฟ้าได้ 50A
                            สายเบอร์ 16 ทนกระแสไฟฟ้าได้ 66A


สายดิน
ป้องกันผู้ใช้ถูกไฟดูด กรณีมีไฟฟ้ารั่ว ช่วยชีวิตท่านได้
1.ทั้งบ้านควรมีหลักดิน(แท่งทองแดงขนาด 1.8 - 2.4 เมตร ที่ตอกลงดิน) แค่หลักเดียว บริเวณที่ตอกควรมีความชื้อพอสมควร
2.สายดิน(สายที่ต่อรับไฟรั่วจากบ้านลงสู่หลักดิน) ต้องต่อที่ตู้เมนสวิตซ์ไฟฟ้า
3.สายดินควรใช้สายทองแดงเบอร์ 6 หรืออลูมิเนียมขนาดเบอร์ 10  เป็นอย่างน้อย
4.สายดินถ้าใช้แบบแยก เนื่องจากใช้สาย VAF เป็นสายไฟ ควรมีขนาดตามข้อ 3 และเป็นสายสีเขียวหรือเขียวเหลือง
   หากใช้แบบสายรวม ก็ดี ปลอดภัยมากกว่าเดิมสายก็เรียบร้อย แต่แพงครับ อิอิ


====================================================================
ดูรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่

http://www.cewmedia.com/article/171/%CA%D2%C2%B4%D4%B9.pdf

www.mea.or.th/apd/prd/safety_efficiency.pdf




                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น