ขนาดสายไฟภายนอก
มิเตอร์ ขนาด 15A (Overload สูงสุดชั่วขณะ 45 A)
แนะนำใช้ขนาดเบอร์ 35 แบบอลูมิเนียม(รองรับไฟ 83A) เผื่อรองรับการขยายในอนาคต ราคาก็ไม่แพงไปจากเดิมมากเท่าไหร่ หากหาไม่ได้จริงๆเอาเบอร์ 25 (รองรับไฟ 36A) ก็ได้ เป็นแบบสีดำ ข้างในเป็นลวดอลูมิเนียมหลายเส้น
มิเตอร์ ขนาด 5A (Overload สูงสุดชั่วขณะ 15 A)
ให้ใช้สายเมนแบบอลูมิเนียม ขนาดไม่น้อยกว่าเบอร์ 10
ภายในบ้าน
การต่อสายไฟ
ให้นำสาย N (นิวทรัล:สายที่ไม่มีไฟ) ต่อเข้ากับ Ground Bar แล้วนำสายขนาดเดียวกันต่อจาก Ground Bar เข้าขั้ว N ของ เมนเซอกิจ เบรกเกอร์( MCB)
ให้นำสาย L (Line : สายที่มีไฟ 220V) ต่อเข้ากับขั้ว L ของ เมนเซอกิจ เบรกเกอร์( MCB)
ตู้เมนควบคุมไฟบ้าน
จำนวนช่อง(วงจรย่อย แยกควบคุมแต่ละจุด โซนหรือบริเวณในบ้าน(หรือรอบๆบ้าน) ตามแต่ที่วางแผนไว้ แต่ถ้าพอมีตังค์ แนะนำเอามีช่องเยอะๆ บ้าน 2 ชั้น น่าจะสัก 14-18 ช่อง บ้านชั้นเดียวสัก 10-12 ช่อง
ให้นำสาย N (นิวทรัล:สายที่ไม่มีไฟ) ต่อเข้ากับ Ground Bar แล้วนำสายขนาดเดียวกันต่อจาก Ground Bar เข้าขั้ว N ของ เมนเซอกิจ เบรกเกอร์( MCB)
ให้นำสาย L (Line : สายที่มีไฟ 220V) ต่อเข้ากับขั้ว L ของ เมนเซอกิจ เบรกเกอร์( MCB)
ตู้เมนควบคุมไฟบ้าน
จำนวนช่อง(วงจรย่อย แยกควบคุมแต่ละจุด โซนหรือบริเวณในบ้าน(หรือรอบๆบ้าน) ตามแต่ที่วางแผนไว้ แต่ถ้าพอมีตังค์ แนะนำเอามีช่องเยอะๆ บ้าน 2 ชั้น น่าจะสัก 14-18 ช่อง บ้านชั้นเดียวสัก 10-12 ช่อง
เมนสวิตซ์(สวิตซ์ใหญ่สุด)
ตามมาตรฐานการไฟฟ้าภูมิภาค หากใช้มิเตอร์ 5(15)A ควรใช้ เมน เซอกิจ เบรกเกอร์ (Main Breaker) ขนาด 16A
ตามมาตรฐานการไฟฟ้าภูมิภาค หากใช้มิเตอร์ 5(15)A ควรใช้ เมน เซอกิจ เบรกเกอร์ (Main Breaker) ขนาด 16A
หากใช้มิเตอร์ 15(45)A ควรใช้ เมน เซอกิจ เบรกเกอร์ (Main Breaker) ขนาด 50A
มีทั้งแบบธรรมดา และแบบกันไฟรั่วดูด แนะนำให้ใช้แบบธรรมดา และไปใช้ลูกย่อยกันดูดแทน เพราะแบบกันดูดด้วย มีข้อดีคือใส่ที่เดียวกันได้ทั้งบ้าน ถูกกว่าเมื่อเทียบกับลูกย่อยกันดูดหลายตัว แต่ข้อเสียคือ หากมีไฟรั่วที่ใดที่หนึ่ง มันจะตัดไฟหมดทั้งบ้าน
มีทั้งแบบธรรมดา และแบบกันไฟรั่วดูด แนะนำให้ใช้แบบธรรมดา และไปใช้ลูกย่อยกันดูดแทน เพราะแบบกันดูดด้วย มีข้อดีคือใส่ที่เดียวกันได้ทั้งบ้าน ถูกกว่าเมื่อเทียบกับลูกย่อยกันดูดหลายตัว แต่ข้อเสียคือ หากมีไฟรั่วที่ใดที่หนึ่ง มันจะตัดไฟหมดทั้งบ้าน
แบบกันดูด(ไฟรั่ว)
อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกันฟ้าผ่า
ใช้สำหรับป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างจากแรงดันกระชากฟ้าผ่า
สวิตซ์วงจรย่อย/สวิตซ์วงจรย่อยกันดูด
ใช้ควบคุมแต่ละจุด หรือโซนในบ้านหรือบริเวณบ้าน อย่างอิสระ เช่นวงจรชั้นบน วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ที่นิยมมี 16 20 32A หากไม่ได้ใช้เมนสวิตซ์แบบกันดูดไว้ แนะนำให้ใช้ลูกย่อยแบบกันดูดในวงจรที่คาดน่าจะมีไฟรั่วถูกดูดได้ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น แต่มันมีราคาแพงกว่าแบบธรรมดานะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น